วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

บล็อกเพื่อน

www.mememejung.blogspot.com
www.tiruk15.blogspot.com
www.Jukduy.blogspot.com
www.nittaya13.blogspot.com
www.nutsba.blogspot.com
www.Patama13.blogspot.com
www.newyear7134.blogspot.com
www.Dajung2010.blogspot.com
www.poopae555.blogspot.com
www.Zoo-Ruk.blogspot.com
www.praputson2.blogspot.com
www.Namtho999.blogspot.com
www.Santan9899.blogspot.com
www.Swlkksanpui.blogspot.com
www.apisit-loveyou.blogspot.com
www.Koonstitchclub.blogspot.com
www.Thaicok.blogspot.com
www.Tangtonnalove.blogspot.com
www.Pimpakk486.blogspot.com
www.petchai222.blogspot.com
www.kimhyonjung.blogspot.com
www.surut16.blogspot.com
www.forgetmenot_fernway.blogspot.com
www.sorry-lin.blogspot.com
www.Mintra-abnormal.blogspot.com
www.DowandMok.blogspot.com
www.Cheesekra.blogspot.com
www.AE andtama.blogspot.com
www.pigred.blogspot.com
www.blogspot.com
www.tukinpo.blogspot.com
www.Toulex5.blogspot.com
www.loypila.blogspot.com
www.kapook16.blogspot.com
www.Mayrrhung.blogspot.com
www.Bigbody11.blogspot.com

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz. ชื่อวงศ์ Acanthaceae ชื่อสามัญ White crane flower ชื่อท้องถิ่น ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง) ทองดุลย์

ปี เก่าผ่านไปก็เข้าสู่ปีใหม่ 2550 ที่ผมคิดว่า สำหรับเรื่องของสุขภาพนั้นยังเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอ แม้ในปีที่ผ่านมาเราไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใด ๆ เลย แต่เมื่ออายุมากขึ้น การไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยห้เราได้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว ภัยร้ายบางอย่างกำลังคุกคามเราอยู่ได้นะครับ อย่างโรคมะเร็งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่จะรู้ตัวว่าเป็นกันก็เข้าระยะสุดท้ายไปแล้ว จึงส่งผลให้การรักษาทำได้ลำบาก ที่ผมกล่าวมาเช่นนี้ ก็เพราะสมุนไพรที่กำลังจะพูดถึงกันในฉบับนี้นั้นได้แก่ ทองพันชั่ง ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการของโรคมะเร็งได้ รวมทั้งอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ อีกมากครับ

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ทองพันชั่งเป็นพืชไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก ส่วนโคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง ขนาดของลำต้นสูงประมาณ 12-90 เซนติเมตร ส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ประดับทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ปลายใบและโคนใบแหลมขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกตรงข้าม กันเป็นคู่ ๆ ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอก มีสีขาวจะออกเป็นช่อ ๆ ตรงซอกมุมใบ กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน ส่วนกลีบดอกสีขาวติดกันตรง โคนเป็นหลอด ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยก เป็น 2 กลีบ กลีบขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร กว้าง 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ กลีบล่างแผ่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก ผล เป็นฝักรูปยาวและมีขนภายในซึ่งมี 4 เมล็ด การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ ปลูกง่ายในดินทั่วไปแต่จะชอบดินที่มีความชุ่มชื้นมากกว่า จึงควรปลูกในฤดูฝน โดยมากมักพบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน ช่วงเวลาที่เก็บยา ส่วนของใบให้เก็บในช่วงที่สมบูรณ์ที่สุด ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือราก (สดหรือแห้ง)

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์1. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ผลการศึกษาการฆ่าเชื้อรา Trichophyton rubrum (สาเหตุของโรคกลาก) โดยวิธี paper disc วัดความกว้างของ clear zone เทียบกับยามาตรฐาน griseofulvin และ nystatin โดยใช้สารสกัดใบและกิ่งด้วยน้ำ แอลกอฮอล์ คลอโรฟอร์ม พบว่า สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์น้อยมาก ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดีพอสมควร สารสกัดทองพันชั่งด้วยเมทานอลไดคลอโรมีเทนและเฮกเซน มีผลยับยั้งเชื้อรา Epidermophyton floccousm, Microsporum gypseum, Trichophyton mentagrophytes และ T.rubrum ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion สาร rhinacanthin-C, D และ N ซึ่งแยกจากใบเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราด้วยวิธี disc diffusion พบว่า สารดังกล่าวทั้ง 3 ชนิดสามารถต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคทางผิวหนัง Trichophyton rubrum, T.mentagrophytes และ Microsporum gypseum ได้ โดยที่สาร rhinacanthin-C มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าวแรงที่สุด ซึ่งค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้ง (MIC) เชื้อ Trichophyton rubrum, T.mentagrophytes และ Microsporum gypseum เท่ากับ 26.5 26.5 และ 106 มก./มล. ตามลำดับ สารสกัด RN-A และ RN-B ในกลุ่ม sesquiterpenoid จากใบทองพันชั่ง ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับสาร pyrano-1, 2-naphthoquinones สามารถยับยั้งสปอร์ของเชื้อรา Pyricilaria oryzae โดยขนาดที่สามารถยับยั้ง สปอร์ได้ครึ่งหนึ่ง (ED50) มีค่าเท่ากับ 0.4 และ 0.2 ppm. ตามลำดับ สาร 3,4-dihydro-3,3-dimethyl-2H-naphtho (2,3-o) pyran-5,10-dione มีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้
2. ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส สารสกัดใบทองพันชั่งด้วยน้ำและเอทานอล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัส ด้วยวิธี plaque reduction assay พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส Herpes simplex type1 (HSV-1) ได้ สาร rhinacanthin C และ D จากต้นทองพันชั่ง เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัส ด้วยวิธี plaque assay พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อ cytomegalovirus โดยมีค่า ED50 เท่ากับ 0.02 และ 0.22 มคก./มล. ตามลำดับ สาร rhinacanthin E และ F จากส่วนเหนือดินของต้นทองพันชั่ง เมื่อนำมาทดสอบ ฤทธิ์ต้านไวรัส ด้วยวิธี cytopathic effect (CPE) assay พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้
3. ฤทธิ์ต้านยีสต์ สาร rhinacanthin C D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถยับยั้งเชื้อ Candida albicans ซึ่งค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ (MIC) เท่ากับ 512 64 และ 64 มก./มล. ตามลำดับ
4. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ 4.1 การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อ ให้สารสกัดต้นทองพันชั่งด้วยแอลกอฮอล์ 50% เมื่อป้อนให้ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในขนาด 10 ก./กก. ไม่แสดงอาการเป็นพิษในหนูถีบจักร ขนาดที่ใช้ทดลองนี้เป็น 3333 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายา 4.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัด รากด้วยคลอโรฟอร์ม ขนาด 5 มก./จานเพาะเลี้ยงเชื้อ ไม่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 4.3 พิษต่อเซลล์ สารสกัดเมทานอล ความเข้มข้น 20 มก./มล. ไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ Raji มีการตรวจสอบหาสารสำคัญในรากทองพันชั่ง ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่า สารพิษนั้น คือ 1,4 naphythoquinone ester, rhinacanthin-Q และสารประกอบอื่น ๆ อีก 24 ชนิด (ส่วนอีกการทดลองหนึ่งทำการทดสอบกับเซลล์ P388 lymphocytic leukemia โดยใช้สารสกัดเฮกเซนจากรากทองพันชั่ง พบว่า สาร ที่ก่อความเป็นพิษเป็นอนุพันธ์ของ naphthoquinone มี 3 ชนิด คือ epoxyrhinacanthin B, epoxyrhinacanthin C, rhinacanthin C โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.62 1.42 และ 3.78 มก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการวิจัยซึ่งผลปรากฏว่า ไม่มีความเป็นพิษเฉียบพลัน

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้ สมุนไพรทองพันชั่งเป็นพืชที่สามารถใช้บรรเทาอาการและรักษาโรคได้หลาย ชนิดจากทั้งใบและราก อย่างเช่น ใช้ดับไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้ริดสีดวง แก้อาการไอเป็นเลือด ฆ่าเชื้อพยาธิ กลาก เกลื้อน แก้มะเร็ง หรือแก้ผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา เป็นต้น โดยวิธีการดังนี้ • ใช้ใบสดหรือรากทองพันชั่ง ตำแช่ในเหล้าหรือแอลกอฮอล์ แล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการของโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ผดผื่นคัน เป็นต้น • ใช้ใบทองพันชั่งสด มาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าซ ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนัง วันละ 1 ครั้ง เพียงแค่ 3 วัน โรคกลากหรือโรคผิวหนังก็จะหายไป • หรือใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ1/2 กล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังบ่อย ๆ • นำใบทองพันชั่งสดหรือมาคั่วให้แห้ง แล้วใช้ชงกับน้ำดื่ม ช่วยเป็นยาขับปัสสาวะ • ใบทองพันชั่งต้มกับน้ำฝนรับประทาน แก้ไข้ข้ออักเสบ • ใช้รากทองพันชั่งต้มน้ำดื่ม แก้น้ำเหลืองเสีย ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง • ใช้ใบทองพันชั่งต้มน้ำดื่ม ช่วยลดความดัน บำรุงธาตุ บำรุงร่าง กาย แก้ปัสสาวะขัด ช่วยระบบกระเพาะอาหารทำงานดีขึ้น • ใช้ใบทองพันชั่ง ใบชุมเห็ดไทย เมล็ดพริก
ไทยร่อน ต้นเหงือกปลาหมอ ตากแห้ง นำมาบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอน ขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 5 เม็ด หลัง อาหารเช้าเย็น เป็นเวลาประมาณ 1 เดือนเศษ แก้โรคเบาหวาน • บางคนใช้รากทองพันชั่งต้มกินแก้มะเร็งภายใน • ใช้ใบทองพันชั่งดอกเหลือง ใบเลี่ยน ตากแดดให้แห้ง คั่วให้หอมดี ชงน้ำชารับประทานเป็นยาแก้โรคไตและโรคมะเร็ง • นำใบหรือรากประมาณ 1 กำมือ ต้มรับประทานทุกเช้าเย็นทุกวัน ช่วยดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง ริดสีดวงทวารหนัก แก้ไอเป็นเลือด และฆ่าพยาธิ

ล่า สุด นักวิจัยภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำ การวิจัยทดลองสังเคราะห์สารอนุพันธ์แนพโทควิโนน เอสเทอร์ จากสารต้นแบบที่ได้จากต้นทองพันชั่ง โดยสารดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูกได้สำเร็จ ที่ในทางการแพทย์แผนโบราณก็ได้ใช้ทองพันชั่งในการรักษาโรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ โรคผิวหนัง ฯลฯ ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีข้อควรระวังคือ ห้ามผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคหืด โรคความดันต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดเลือด รับประทาน
เรา คงเห็นกันแล้วนะครับว่า พืชผักของไทยเรานั้นมีคุณสมบัติเด่นในด้านการเป็นสมุนไพรเพียงใด และถ้าคุณผู้อ่านคนใดที่มีอาการเจ็บป่วยตามที่กล่าวมาก็อย่าลืมนำสมุนไพรทอง พันชั่งนี้ไปรักษากันนะครับ

ต้นโกสน

ชื่อสามัญ Croton
ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum varicgatum
ลักษณะทั่วไป โกสนเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่มขนาดย่อมลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ผิวลำต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตรงกลม ใบแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่าง สีสันขนาด แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่างซึ่งออกมาจากปลายกิ่งพวงหนึ่งยาวประมาณ10-15เซนติเมตร ดอกมีสีชาวดอกเล็กมากมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะเห็นเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอย การบานของดอกเป็นรูปทรงกลม ส่วนพันธุ์ที่นิยมปลูก เหรียญทอง ไกรทอง ทับทิมทอง ทองอุไร ผู้ชนะสิบทิศ มหาราช หมื่นหาญ รัตนโกสินทร์ เศรษฐีสุพรรณ
ส่วนประกอบของใบ • พื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมด • กระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบ • หูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูก • ตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อย • สายระโยงหรือสายระยาง คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆที่ปลายสาย • ปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆและคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่ง •ปลายใบจีบมีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ดแต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน
การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโกสนไว้ประจำบ้านจะทำให้มีบุญบารมีเพราะโกสนโบราณคงกล่าวถึงกุศลคือการสร้างบุญคุณงามความดีนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าสามารถช่วยคุ้มครองให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะคนโบราณเชื่อว่าต้นโกสนเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่ปลูกคู่บ้านคู่เมืองโดยสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงนำเข้ามาปลูกไว้ในพระราชวังบ้านขุนนางวัดหลวงเพื่อให้เกิดความร่วมเย็นเป็นสุขตลอดมา
การปลูก
1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี / ครั้ง เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเมื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อสภาพไป2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณหน้าบ้าน หรือทำเป็นแนวรั้วบ้านเพื่อที่จะสร้างจุดเด่นให้กับบ้านขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก :ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์โกสนสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบยอด การติดตาและการเพาะเมล็ด • การปักชำกิ่ง เป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัด คือ ใช้มีดที่คมและสะอาดเลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปมาเป็นกิ่งชำ ชุบโคนกิ่งชำลงในฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ประมาณ 3-5 นาที ทิ้งไว้ให้หมาด จากนั้นนำกิ่งชำลงชำในกระถางซึ่งมีขี้เถ้าแกลบผสมกับขุยมะพร้าวในตัตราส่วนเท่าๆ กันเป็นวัสดุปักชำ วางไว้ในที่ร่มที่มีความชื้นสูงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 4-5 สัปดาห์ รากและใบอ่อนก็จะเริ่มงอก จึงย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไป • การตอนกิ่ง เลือกกิ่งที่ต้องการตอน โดยเลือกจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดที่คมและสะอาดควั่นหรือบากเอาเปลือกออกรอบลำต้นยาวประมาณ 1- 2 ซม. ไช้ฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ทารอบรอยควั่นให้ทั่ว ทิ้งไว้พอหมาด จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่ขุยมะพร้าวให้เต็มรดน้ำให้ชุ่มแล้วรัดปากถุง หรือที่เรียกว่าตุ้มขุยมะพร้าว นำมาผ่าด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งแล้วสวมรอยผ่าเข้ากับรอยควั่นของกิ่งตอนให้ขุยมะพร้าวและถุงพลาสติดหุ้มรอบกิ่งตอน ใช้เชือกมัดหัวท้ายตุ้มขุยมะพร้าวให้แน่น ประมาณ 4-6 สัปดาห์ รากก็จะขึ้นเต็มตุ้มขุยมะพร้าวจึงตัดไปปลูกลงกระถางต่อไป • การเสียบยอด คือการนำยอดของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกหัดเป็นอย่างดี ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดยอดของต้นตอออกพร้อมกับบากตอลงไปในลักษณะปากฉลามลึกประมาณ 1/2 ซม. ตัดยอดของต้นพันธุ์ดีพร้อมทั้งเฉือนส่วนปลายสองข้างให้พอดีกับปากฉลามของต้นตอ เสียบลงไปให้ประสานเสมอกันพอดีมัดด้วยเชือกพลาสติก นำต้นตอและยอดที่มัดดีแล้วใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง • การติดตา คือการนำตาของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีที่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ตัดยอดของต้นตอพร้อมทั้งปลิดใบบริเวณที่จะติดตาออก ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนเปลือกต้นตอออกเป็นแนวยาวตามลำต้นประมาณ 1- 2 ซม. เฉือนตาต้นพันธุ์ที่ต้องการจะติดตาให้มีใบติดมาด้วยและให้มีขนาดพอๆ กับที่เฉือนต้นตอ แนบตาเข้ากับรอยเฉือนของต้นตอ ใช้เชือกเล็กๆ มัดให้แน่น ใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง • การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์อีกแบบหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดโกสนพันธุ์ใหม่ นักเลี้ยงโกสนนิยมใช้วิธีช่วยผสมเกสรแล้วเก็บเมล็ดมาเพาะ โดยใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุในการเพาะ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนอายุ 2-3 เดือนจึงย้ายปลูกได้